LOG-IN



NEWS & ACTIVITIES > NEWS > สมาคมผู้นำเข้าและผู้ส่งออกระดับมาตรฐานเออีโอขอเชิญสัมมนา “หลักเกณฑ์การปรับตาม พรบ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย 2565 ใครได้ประโยชน์ และเกี่ยวข้องกับผู้นำ-เข้าส่งออกอย่างไร” Read more +

สมาคมผู้นำเข้าและผู้ส่งออกระดับมาตรฐานเออีโอขอเชิญสัมมนา “หลักเกณฑ์การปรับตาม พรบ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย 2565 ใครได้ประโยชน์ และเกี่ยวข้องกับผู้นำ-เข้าส่งออกอย่างไร”

วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2566 เวลา 

9.00 -16.00 น. 

ณ ห้องประชุมมรกต ชั้น 3

โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถ.รัชดาภิเษก

หัวข้อที่น่าสนใจ

  1. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 เป็นกฎหมายกลางที่กำหนดหลักเกณฑ์ในทางสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติเพื่อใช้ในการพิจารณาและกำหนดค่าปรับสำหรับความผิดที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องชำค่าปรับเป็นพินัย (มาตรา ๕) และ “ปรับเป็นพินัย” เป็นการบัญญัติชื่อขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นมาตรการในการลงโทษผู้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง แทนโทษปรับทางอาญาและโทษทางปกครอง
  2. หลักในการพิจารณาและกำหนดค่าปรับเป็นพินัย เป็นการเปลี่ยนความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวและความผิดที่มีโทษทางปกครองเป็นความผิดทางพินัย โดยใช้หลักการพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพ ความผิดและกำหนดค่าปรับให้เหมาะสมกับฐานะของผู้กระทำความผิดโดยให้พิจารณาจากระดับความรุนแรง ของผลกระทบต่อชุมชนหรือสังคม ผลประโยชน์ที่ผู้กระทำความผิดหรือบุคคลอื่นได้รับจากการกระทำความผิด ทางพินัยและสถานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำความผิดด้วย โดยจะให้ผ่อนชำระเป็นรายงวดก็ได้
  3. พรบ.ที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก (ตามบัญชีแนบท้าย พรบ.) เช่น

พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ (บัญชี๒)

พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘(บัญชี๑)

พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.๒๕๕๘ (บัญชี๒)

พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ (บัญชี๑)

พระราชบัญญัติขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘ (บัญชี๑)

พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑ (บัญชี๑)

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๒๒

พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ (บัญชี๑)

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓ต(บัญชี๑)

พระราชบัญญัติปุ้ย พ.ศ. ๒๕๑๘ (บัญชี๑)

4. พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย. พ.ศ. ๒๕๖๕ จะนำไปปรับใช้ก้บ พ.ร.บ.อื่นๆอย่างไร?

เนื่องจากแต่ละพ.ร.บ. มีทั้งโทษอาญาและโทษปรับ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบ

กับภาคธุรกิจ เช่น พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐

  1. ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก จะได้ประโยชน์อย่างไรบ้างจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย. พ.ศ. ๒๕๖๕
  2. กฎหมายลำดับรองที่ออกตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย. พ.ศ. ๒๕๖๕ เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง? และเป็นประโยชอย่างไร?

บรรยายโดย

นางสาวธำรงลักษณ์ ลาพินี

ตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) หน่วยงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

นายวรกร โอภาสนันท์

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง กองกฎหมายกระบวนการยุติธรรม

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกสมาคมAEO

2,500 บ.

บุคคลทั่วไป

3,000 บ.

ราคานี้ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

สมัครและชำระเงินภายใน

วันที่ 6 ตุลาคม 2566

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

02-681-9944, 087-513-3741 (คุณคงเดช)